อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่อปี
ประเภท | อัตรา |
เงินฝากออมทรัพย์ | 0.25% |
– เงินฝากไม่ถึง 2 ล้านบาท – เงินฝาก 2 ล้านบาทขึ้นไป |
2.00% 2.50% |
1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปี
ประเภท | อัตรา |
เงินกู้ฉุกเฉิน | 7% |
เงินกู้สามัญ (ไม่เกินทุนเรือนหุ้น) | 7% |
เงินกู้สามัญ (บุคคลค้ำประกัน) | 7% |
เงินกู้พิเศษ | 6% |
1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อ
FAQ
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า จำนวน 500.- บาท แพงเกินไป ลดหย่อนบ้างได้ไหม
A : ” ตามข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 34. ผู้เข้าเป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์คนละหนึ่งร้อยบาท และ อดีตสมาชิกถ้าประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกอีก ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า คนละห้าร้อยบาท ค่าธรรมเนียมนี้ให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์จะเรียกคืนไม่ได้ ” ดังนั้น พนักงานที่สมัครครั้งแรกจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพียงหนึ่งร้อยบาท ส่วนอดีตสมาชิกจะสมัครใหม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าห้าร้อยบาท
เพื่อให้สหกรณ์ ดำเนินงานไปด้วยความต่อเนื่อง หากสมาชิกเก็บเงินได้สักก้อนหนึ่งก็ขอลาออกนำเงิน ที่ตั้งใจเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อออกจากงานไปใช้ก่อน หากการเก็บเงินเหมือนการปลูกต้นไม้ พอต้นไม้โตขึ้นหน่อยก็ตัด หากเป็นเช่นนี้ ต้นไม้ก็จะเป็นได้แค่บอนไซไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาได้
เป็นสมาชิกนอกจากเก็บและกู้เงินแล้ว จะได้สิทธิอะไรอีกบ้าง?
A : สมาชิกนอกจากจะได้รับบริการทางการเงิน ในด้านเก็บและกู้เงินแล้ว ยังได้รับสิทธิพิเศษอีก คือ .-
1. ได้รับเงินเฉลี่ยคืนจากดอกเบี้ยที่จ่ายให้สหกรณ์ในแต่ละปิ ซึ่งสถาบันการเงินอื่นไม่มี (ใครอยากได้เงินส่วนนี้ต้องกู้นะครับ)
2. ได้รับเงินทุนส่งเสริมการศึกษาบุตร สำหรับบุตรสมาชิกที่เริ่ยนดี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ซึ่งสอบไล่ได้คะแนน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 หรือเกรดเฉลี่ย 3.00 (ให้เฉพาะสมาชิกที่มีบุตรของตนเองเท่านั้น)
3. ได้รับเงินสงเคราะห์ศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรม ซึ่งจะให้ตามอายุการเป็นสมาชิก ตั้งแต่ 3,000 – 5,000 บาท พร้อมพวงหรีด
หนึ่งพวง (ใครอยากได้ต้องตายก่อนนะครับ และอย่าพยายามมารับด้วยตนเอง เพราะ สหกรณ์จะจ่ายให้ผู้รับโอนประโยชน์หรือ
ทายาทเท่านั้น)
4. ให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกตามสมควร (การจัดไปทัศนศึกษาในต่างจังหวัดก็เป็นการเรียนรู้ประเภทหนึ่งน่ะครับ)
5. ได้รับยกเว้นค่าอากรและธรรมเนียมต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ” ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องใน
กิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ใน
อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม”
6. ให้บริการด้านคำปรึกษาทางการเงิน ฟรี
เรื่องการกู้เงินจากสหกรณ์
1. หาผู้ค้ำประกันยาก เพราะสมาชิก 1 คน คำประกันเพื่อนสมาชิกได้เพียง 3 คน
2. เพิ่มวงเงินกู้อีก (อยากกู้เยอะ ๆ)
3. ทำไมต้องผ่านผู้บังคับบัญชา
4. ลดดอกเบี้ยอีกได้ไหม
A : สหกรณ์ให้เงินกู้แก่สมาชิก รวม 3 ประเภท แบ่งตามระยะเวลา คือ
1. เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ( เงินกู้ระยะสั้น ) วงเงินหนึ่งเท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 50,000.- บาท ผ่อนชำระไม่เกิน 4 เดือน เนื่องจากเป็นเงินกู้ระยะสั้น จึงให้ผ่อนชำระได้ เพียง 4 เดือน มีสมาชิกบางท่านอยากให้ขยายเวลาผ่อนชำระเป็น 12 เดือน ซึ่งไม่สามารถ ดำเนินการได้ เพราะเป็นเงินกู้ระยะสั้น ถ้าขยายผ่อนชำระเป็น 12 เดือน ก็คงต้องเรียกว่า เงินกู้ระยะสั้นปานกลาง
2. เงินกู้สามัญ ( เงินกู้ระยะปานกลาง ) วงเงินตามอายุการเป็นสมาชิก ซึ่งจำกัด ไม่เกิน 500,000.- บาท แต่ถ้าหากสมาชิกขอกู้มากกว่านี้ ต้องอาศัยหลักประกันของตนเอง มาค้ำประกัน เพื่อไม่ให้เพื่อนสมาชิกต้องรับผิดชอบมากเกินไป
3. เงินกู้พิเศษ ( เงินกู้ระยะยาว ) วงเงินร้อยละ 80 ของวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินไปใช้ ให้กู้ตั้งแต่ 1 ล้านบาทถึง 8 ล้านบาท ตามเหตุผลของการกู้ ตั้งแต่จัดตั้งสหกรณ์มายังไม่มี สมาชิกคนใดกู้เต็มวงเงินเลย ซึ่งต้องมีหลักประกันที่เป็นอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกัน
4. การค้ำประกัน ที่จำกัดให้สมาชิกแต่ละรายค้ำประกันหนี้เงินกู้ได้ไม่เกิน 3 สัญญา เพื่อลดภาระให้สมาชิก และสหรณ์สามารถรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามการค้ำประกัน เงินกู้เพียง 3 สัญญา บวกด้วยวงเงินกู้ของตนเองแล้ว หากกู้เต็มวงเงิน 5แสนบาททุกคน สมาชิกรายหนึ่งจะมีภาระหนี้ถึง 1 ล้านบาท ( หนี้ตนเอง 5 แสน ท่านรับภาระไหวหรือไม่ )
5. เนื่องจากสหกรณ์ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่บริษัทจัดให้แก่พนักงาน โดยพนักงานต้องสมัครใจเป็นสมาชิกเอง สหกรณ์ต้องการข้อมูลในการประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ จึงต้องสอบถามผู้บังคับบัญชา ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับพนักงานเป็นผู้ให้ข้อมูลดีที่สุด
6. ดอกเบี้ยปิจจุบันของสหกรณ์ เงินกู้พิเศษอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.- บาท หากสหกรณ์ จ่ายเฉลี่ยคืนจากดอกเบี้ยร้อยละ 10 นั่นแสดงว่าสมาชิกเสียดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ 5.40 หากสมาชิกได้รับเงินปินผลจากหุ้นร้อยละ 5.25 แสดงว่ามีส่วนต่างดอกเบี้ยที่เป็นรายได้ของสหกรณ์ เท่ากับร้อยละ 0.15 เท่านั้น ถ้าหากลดอัตราดอกเบี้ยลง เงินปันผลจากหุ้นก็ต้องลดตามลงด้วย อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันก็ต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่นๆ อยู่แล้ว
การแต่งตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์
เพื่อสิทธิประโยชน์ของสมาชิกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านทำหนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ให้แก่ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวพันกับสมาชิก ผู้แสดงเจตนาเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินฝาก ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน (หลังจากหักหนี้ที่มีต่อสหกรณ์แล้ว) และเงินสวัสดิการที่จะได้รับตามระเบียบสหกรณ์ให้แก่ผู้รับโอนผลประโยชน์ ตามที่ระบุไว้หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ ทั้งนี้ ผู้รับโอนผลประโยชน์สามารถระบุได้ตั้งแต่ 1 คน หรือหลายคนก็ได้
แต่ ถ้ามิได้ตั้งไว้ จะต้องมีคำสั่งศาล แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าว
หากสมาชิกท่านใดได้ทำหนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ไว้แล้ว แต่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนผลประโยชน์ โปรดทำหนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ฉบับใหม่แทนฉบับเดิม โดยระบุวันที่ให้ชัดเจน พร้อมลงลายมือชื่อสมาชิกและรายมือชื่อพยานให้ครบถ้วน
หากต้องการโอนเงินเพื่อชำระหนี้ / ฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ สามารถดำเนินการ อย่างไรได้บ้าง?
A: สมาชิกที่มีความประสงค์โอนเงินเพื่อชำระหนี้ หรือ ฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ สามารถดำเนินการโอนผ่านธนาคาร.-
1. ธนาคารกสิกรไทย / สาขาจามจุรี / บัญชีเลขที่ 630-224-3555 ชื่อบัญชี “สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานกลุ่มบริษัททรู จำกัด”
1.1 โอนผ่าน Mobile Banking หรือ
1.2 โอนผ่านตู้ ATM หรือ
1.3 ชำระเป็นเงินสดผ่านเคาน์เตอร์ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา หรือ
2. กรณีชำระด้วยเช็คธนาคาร กรุณาสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมในนาม “สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานกลุ่มบริษัททรู จำกัด” ขีด “หรือผู้ถือ”
3. ส่งหลักฐานการโอน พร้อมทั้งระบุ ชื่อ-นามสกุล, เลขทะเบียนสมาชิก, และหมายเลขโทรศัพท์ มายัง E-mail : truesavings@true-coop.com
4. การโอนเงินเพื่อชำระหนี้ / เงินฝากเข้าบัญชี กรุณาโอนก่อน 15.00 น. ของทุกวันทำการ และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบการโอนเงินของสมาชิกเรียบร้อยแล้ว จะรีบดำเนินการให้โดยเร็วที่สุด